ขนาดตัวอักษร
A
A
A
ความตัดกันของสี
c
c
c
TH
  • TH
  • EN

ความคาดหวัง ปัญหา และอุปสรรคของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556

62
ผู้ทำวิจัย :

นางสาวคริษฐา อ่อนแก้ว

ปีที่ทำวิจัย :

2562

แหล่งทุนวิจัย :

กองทุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ 2560

Download the document

ระบุข้อมูลเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความคาดหวัง ปัญหา และอุปสรรคของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับบที่ 2 พ.ศ.2556  มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1.เพื่อศึกษาระดับความคาดหวัง ของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ  2.เพื่อศึกษาระดับปัญหาและอุปสรรคของนายจ้างต่อการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ  การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงาน  จำนวน 148 บริษัท  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลมีตำแหน่งเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร้อยละ 96.6  ประกอบธุรกิจบริการมากที่สุด       ร้อยละ 23  มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 58.8   มีการจ้างงานคนพิการที่มีความพิการการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด ร้อยละ 67.6  ส่วนใหญ่สถานประกอบการที่มีนโยบายอื่นๆที่นอกเหนือจากการจ้างงานคนพิการ ร้อยละ 91.2   ซึ่งนโยบายที่นอกเหนือจากการจ้างงานคนพิการที่บริษัททำมากที่สุด คือ การจัดสัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ  ร้อยละ54 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก  ร้อยละ 52.0  โดยสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดให้คนพิการมากที่สุด คือ ทางลาด-ขนส่ง ร้อยละ 16.7  ตำแหน่งที่จ้าง คือ เสมียน/ธุรการ  ร้อยละ 32.7  
ผลการศึกษาระดับความคาดหวังของนายจ้างในการจ้างงานคนพิการ พบว่า ระดับความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.59)   และด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุด คือ ด้านพฤติกรรมในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก (  =3.89)  ด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านสิทธิประโยชน์ที่นายจ้างได้รับ กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังอยู่ในระดับปานกลาง  (  = 3.44)  ผลการศึกษาระดับปัญหาและอุปรรคของการจ้างงานคนพิการ พบว่า ระดับภาพรวมของปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานคนพิการ อยู่ในระดับปานกลาง            (  = 2.82 )  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556 ยังให้ความรู้กับสถานประกอบการไม่ทั่วถึงความคิดเห็นอยู่ในระดับปานปลาง  อยู่ในระดับปานกลาง   ( =3.40 )  และปัญหาและอุปสรรคน้อยที่สุด คือคนพิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นภาระกับเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับน้อย  ( = 2.08 ) ตามลำดับ  
และการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างความคาดหวัง ปัญหาและอุปสรรคของนายจ้างในการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการ จำแนกตามปัจจัยพื้นพื้นฐานของนายจ้าง  นายจ้างที่ระดับความระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  แตกต่างกัน  มีผลต่อความคาดหวังในด้านความรู้ในการทำงาน และทักษะในการทำงาน แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  สถานประกอบการที่จ้างงานคนพิการประเภทต่างๆ  จำแนกตามประเภทความพิการ กลุ่มตัวอย่างที่จ้างงานคนพิการทางมองเห็นมีผลต่อระดับความคาดหวังด้านความรู้ในการทำงาน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และกลุ่มตัวอย่างที่มีการจ้างงานคนพิการในตำแหน่งงานพื้นฐาน เช่น แม่บ้าน  คนสวน คนซักรีด ร.ป.ภ. เป็นต้น มีผลต่อระดับความความคาดหวังในการจ้างงานคนพิการ ด้านความรู้ในการทำงาน ด้านทักษะในการทำงานและภาพรวมความคาดหวัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแตกต่างกัน  มีผลต่อระดับความคิดเห็นของปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานคนพิการ ในภาพรวมปัญหาและอุปสรรรค  แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   และกลุ่มตัวอย่างที่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการแตกต่างกัน ภาพรวมปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงานคนพิการ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   

คำสำคัญ 
คนพิการ   การจ้างงาน  นายจ้าง  ปัญหาและอุปสรรคในการจ้างงาน