ขนาดตัวอักษร
A
A
A
ความตัดกันของสี
c
c
c
TH
  • TH
  • EN

กฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRL) รุ่นที่ 4

พัฒนาองค์กร
45

หลักการและเหตุผล
          กฎหมายแรงงานกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไว้ มีผลผูกพันให้นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนอาจมีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ดังนั้น ในการปฏิบัติงานของหัวหน้างาน ผู้จัดการและผู้บริหารในทุกระดับ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจกฎหมายแรงงาน จะได้นำความรู้ไปบริหารจัดการได้อย่างถูกกฎหมาย อันจะมีผลส่งเสริมหลักนิติธรรมในสถานประกอบกิจการ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
          ดังนั้น สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดหลักสูตรกฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ขึ้น
 

วัตถุประสงค์
          เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมาย ดังนี้
         1. กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน
         2. กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับวันเวลาทำงาน ชั่วโมงทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดและวันลา การคุ้มครองแรงงานหญิงและแรงงานเด็ก
         3. กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับค่าจ้าง ค่าตอบแทนการทำงาน สวัสดิการแรงงานค้ำประกันการทำงาน
         4. กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับวินัยและการสอบสวนลงโทษทางวินัยที่สร้างสรรค์และเป็นธรรม
         5. กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน
         6. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
         7. การดำเนินคดีแรงงานในชั้นพนักงานตรวจแรงงานและศาลแรงงาน
 

เนื้อหาการฝึกอบรม
         1. สิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
         2. กฎหมายแรงงานฉบับสำคัญที่ผู้บริหารควรทราบ เช่น กฎหมายสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
         3. พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 มีผลใช้บังคับ 2566 (ฉบับใหม่) และแนวโน้มการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ          
       
  4. สัญญาจ้างแรงงาน ประเภทของสัญญาจ้าง ข้อตกลงในสัญญาจ้าง เช่น   ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์  ข้อตกลงห้ามค้าแข่งหลังออกจากงาน ฯลฯ
         5. การเหมาช่วงงาน และการใช้แรงงานภายนอก ผู้ประกอบการมีสิทธิและความรับผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างไร
         6. คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน เช่น คำสั่งโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ คำสั่งย้ายสถานที่ทำงาน คำสั่งทำงานล่วงเวลา คำสั่งทำงานในวันหยุด ฯลฯ
         7. การโอนสิทธิความเป็นนายจ้าง และการเปลี่ยนตัวนายจ้าง กรณีซื้อกิจการและควบรวมกิจการ
         8. การทดลองงาน ความหมาย ประเภท ระยะเวลา สิทธิหน้าที่ การประเมินผลการทำงานผลทางกฎหมายกรณีผ่านและไม่ผ่านทดลองงาน
         9. วันเวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และ วันลาต่าง ๆ เช่น ลาป่วย ลาคลอด ลากิจ ฯลฯ
       10. วินัย การลงโทษทางวินัยที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม หลักเกณฑ์การตักเตือนเป็นหนังสือ และการทำผิดซ้ำคำเตือน
       11. การเลิกจ้าง ลาออก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ
       12. สรุปประเด็นและถาม-ตอบข้อสงสัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้

กฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRL) รุ่นที่ 4
ค่าธรรมเนียม :

9,800 บาท

วันที่อบรม :

14 - 15 Jun 68

ระยะเวลารวม :

12 ชั่วโมง

สถานที่อบรม :

โรงแรม โนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์ (Novotel Bangkok on Siam Square)


จำนวนที่เปิดรับ :

40

ระดับเนื้อหา :

ระดับเริ่มต้น (Beginner)

กลุ่มเป้าหมาย :

ผู้บริหารองค์กร (CEO) ภาคเอกชน


วิทยากร :
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
Certificate :

มี


ผู้รับผิดชอบโครงการ :

น.ส. อารียา จันทร์หอมกุล

เบอร์โทรศัพท์ :

095-712-0885, 02-613-3820 (ต่อ304)

อีเมล :

jho_areeya@hotmail.com